บทความ


ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ความเป็นมา
     
  ในยุคโลกาภิวัตน์ ศูนย์ศึกษากิจการต่างประเทศให้ความสนใจในการเสาะแสวงหาความรู้ และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ
เป็นอย่างยิ่ง นับแต่อดีต สังคมไทยเป็นสังคมเปิดและได้สร้างความสัมพันธ์กับมิตรประเทศต่าง ๆ มานานนับตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ด้วยการเดินทางไปเยี่ยมเยือน
ทำธุรกิจการค้า และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเรื่อยมา ยิ่งในยุคปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และไทยเราส่งออก-นำเข้าสินค้า รวมทั้งออกไปลงทุน
ในต่างประเทศแทบทุกทวีป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสังคมอื่นอย่างละเอียดลึกซึ้ง ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ และการเมืองของแต่ละสังคม
  เกาหลีเป็นสังคมที่คนไทยคุ้นเคยมานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีระหว่างปี พ.ศ. 2493-2496 ที่ไทยได้ส่งกองทหารไปร่วมรบ และได้ตั้งกองทหาร
เพื่อเป็นกันชนมิให้สงครามเกิดขึ้นอีกเป็นเวลานับสิบปีต่อมาตามมติขององค์การสหประชาชาติ ในขณะเดียวกัน ไทยและเกาหลี (เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) ต่างมีสัมพันธไมตรี
ที่ดีต่อกัน และได้ทำธุรกิจการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและวิชาการระหว่างกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
  มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ประจักษ์ถึงความจริงในเรื่องนี้ จึงได้จัดตั้งศูนย์เกาหลีศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยให้สังกัดในภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     
ปรัชญา
     
  เสริมสร้างองค์ความรู้สังคมบนคาบสมุทรเกาหลีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือตามปรัชญา ความรู้คู่คุณธรรมและประเทืองปัญญาทางวิชาการ
     
ปณิธาน
     
  มุ่งมั่นพัฒนาสร้างเป็นศูนย์วิจัยบริเวณศึกษาและเป็นอาศรมข้อมูลเกาหลีศึกษาแบบบูรณาการในทุกมิติเพื่อประโยชน์ในวงการศึกษาและพัฒนาอาชีพของคนไทย
     
วิสัยทัศน์
     
  เป็นศูนย์ศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างสรรค์งานทางวิชาการ เผยแพร่ความรู้สู่สังคม และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยกับสังคมบนคาบสมุทรเกาหลี
     
พันธกิจ
     
  ศูนย์เกาหลีศึกษา มีพันธกิจ ดังนี้
  1. เป็นศูนย์ในการค้นคว้าวิจัยสังคมที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี (เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) ในด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง
    และการค้าการลงทุน ระหว่างประเทศไทยกับเกาหลี ตลอดจนเหตุการณ์ปัจจุบัน อนึ่ง เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจเรื่องราวของสังคมเกาหลีให้ดีและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    ศูนย์ฯ จึงมีการศึกษาวิจัยประเทศข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีมานานนับแต่อดีตกาล ได้แก่ จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น และไต้หวัน หรือที่เรียกว่า ภูมิภาคตะวันออก
    เฉียงเหนือทั้งหมด
  2. สนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้สืบสานองค์ความรู้เดิม สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ชุมชน
  3. เป็นอาศรมความด้านเกาหลีศึกษา และพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและภูมิปัญญาของประชาคมไทย-เกาหลี
  4. เป็นศูนย์ประสานการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเกาหลีศึกษากับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
     
นโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงาน
     
  ศูนย์เกาหลีศึกษามีนโยบายและกลยุทธ์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามพันธกิจ ดังนี้
  1. การวิจัย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยแบบองค์มวลรวมสังคมบนคาบสมุทรเกาหลี ศูนย์ฯ ได้เน้นการผลิตผลงานการวิจัย เอกสารทางวิชาการ หนังสือ และบทความ
    อันนำไปสู่การ เป็นอาศรมความรู้ด้านเกาหลีศึกษาในทุกมิติ ผลงานเหล่านี้ได้นำไปเผยแพร่ในเวปของศูนย์ฯ www.ru.ac.th/korea พิมพ์เป็นรายงานการวิจัย
    พิมพ์ ในวารสารทางวิชาการและหนังสือพิมพ์ พิมพ์เป็นหนังสือเรียน รวมทั้งให้สัมภาษณ์ทางวิทยุและโทรทัศน์ในกิจการเกาหลีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
  2. นโยบายด้านความร่วมมือ เน้นการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศในการส่งเสริมการวิจัยและแลกเปลี่ยนนักวิชาการ
    นักเรียนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาทุกระดับ
    กลยุทธ์การดำเนินงานตามนโยบายด้านความร่วมมือ มีดังนี้
    - ดำเนินการความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเน้นสถาบันในประเทศเกาหลีเป็นหลัก เป็นหุ้นส่วนทางวิชาการ จัดหาทุนการศึกษา
      การฝึกอบรม/ดูงาน/ประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนผู้เชียวชาญ อาสาสมัคร และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ของศูนย์ฯ
    - สร้างความเข้มแข็งในด้านความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรกับสถาบันการศึกษาคู่สัญญาเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในโครงการความร่วมมือ
      ทั้งภายในประเทศ และกับต่างประเทศภายใต้กรอบของความร่วมมือที่ได้ลงนามไว้ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความเข้มแข็ง
      ในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อาเซียน-อาเซียนบวกสาม
  3. นโยบายด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมที่สอดคล้องกับพันธกิจ ความต้องการของผู้รับบริการ และกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้น
    ในด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษา เผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนและองค์กรของรัฐที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย
    ทันต่อเหตุการณ์ผ่านทางสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมวลชนเพื่อให้เข้าถึงผู้สนใจทุกกลุ่ม
    กลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านบริการแก่สังคม มีดังนี้
    - พัฒนารูปแบบการนำเสนองานทางวิชาการผ่านสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมวลชนในรูปแบบภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ และเป็นประโยชน์
    - ดำเนินกิจกรรม เช่น จัดนิทรรศการ อบรม การประชุมทางวิชาการ และสร้างเครือข่ายการดำเนินการในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
    - พัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมของเกาหลีและสังคมข้างเคียนที่เป็นประโยชน์ต่อการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของไทย
  4. นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม ให้สอดรับกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย-เกาหลี และกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
    กลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีดังนี้
    - สร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
    - เสริมสร้างค่านิยมและศิลปวัฒนธรรมไทยในเกาหลี
     

ที่ทำการ

ศูนย์เกาหลีศึกษา มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ห้อง 1204 (ตึก 1 ชั้น 2) ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

โทรศัพท์ 02-310-8270 และ 02-318-0054-5 ต่อ 1117

แฟกซ์ 02-318-8270

e-mail address: damrongthandee@ru.ac.th

website: www.ru.ac.th/korea


 
เอกสารผลงานทางวิชาการของศูนย์เกาหลีศึกษา
     
อันดับที่ 1   เกาหลีใต้ : บทบาทของรัฐในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.
อันดับที่ 2   สังคมและวัฒนธรรมเกาหลี.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2536.
อันดับที่ 3   การบริหารงานแบบเกาหลี.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2536.
อันดับที่ 4   ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้). รายงานการวิจัย  ศูนย์เกาหลีศึกษา 
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539.
อันดับที่ 5   Asian Trade Information: South Korea. Data Bank Project. Presented to Department of Businesses Economics,
    Ministry of Commerce. Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, 1988.
อันดับที่ 6   Correcting of Thai Publications on Korean Studies.  Research report, Center for Korean Studies, Ramkhamhaeng
    University, 1996.
อันดับที่ 7   สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา  มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.
อันดับที่ 8   สังคมและวัฒนธรรมจีน. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.
อันดับที่ 9   เกาหลีเหนือ: สังคมและวัฒนธรรม.  รายงานการวิจัย ศูนย์เกาหลีศึกษา  มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541.
อันดับที่ 10   เกาหลีใต้วันนี้.  เอกสารทางวิชาการ  ศูนย์เกาหลีศึกษา  มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
อันดับที่ 11   จีนวันนี้.  เอกสารทางวิชาการ  ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
อันดับที่ 12   ญี่ปุ่นวันนี้.  เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
อันดับที่ 13   โฉมหน้าญี่ปุ่น ปี 2000. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
อันดับที่ 14   โฉมหน้าจีน ปี 2000.  เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
อันดับที่ 15   โฉมหน้าเกาหลี ปี 2000. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
อันดับที่ 16   สังคมและวัฒนธรรมเกาหลี. (แก้ไขปรับปรุงใหม่ทั้งเล่ม) กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.
อันดับที่ 17   สังคมและวัฒนธรรมจีน. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.
อันดับที่ 18   สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545.
อันดับที่ 19   การเมืองเกาหลี.  กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546.
อันดับที่  20   “การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและสาธารณรัฐเกาหลี,”  การเมืองการปกครองของประเทศในเอเชีย.
    (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 3 #82321  สาขาวิชารัฐศาสตร์  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
    2548. หน้า 3-1 - 3-106; และ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสาธารณรัฐเกาหลี,” กระบวนการพัฒนาและทางเลือกสาธารณะ. หน่วยที่ 9 ตอนที่ 9.1
    #83705 บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.
    หน้า 9-4 – 9-23.
อันดับที่ 21   ความสัมพันธ์ระหว่าง จีน-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น:  ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน. รายงานการวิจัย  ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.
อันดับที่ 22   เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ: ความสัมพันธ์ระหว่างจีน เกาหลี และ   ญี่ปุ่น - ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19. เอกสารทางวิชาการ
    ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.
อันดับที่ 23   เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ: ความสัมพันธ์ระหว่างจีน เกาหลี และญี่ปุ่น - จากยุคโบราณจนถึงปี ค.ศ. 2009. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ศูนย์เกาหลีศึกษา
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553. และพิมพ์เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชา สังคมและวัฒนธรรมจีน (AN 354 (S)) กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อันดับที่ 24   เกาหลีปี 2553: วันนี้ที่เปลี่ยนไป. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2554.
อันดับที่ 25   เอเชียตะวันออก: พัฒนาการความสัมพันธ์ของคน สังคมและวัฒนธรรม ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
    รายงานการวิจัย ศูนย์เกาหลีศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555 และพิมพ์เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชา สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (AN 355 (S)).
    กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อันดับที่ 26   พัฒนาการทางการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้). เอกสารทางวิชาการ
    ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.
อันดับที่ 27  

อาเซียนบวกสาม: ความสัมพันธ์ระหว่างกันในยุคปัจจุบัน. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.

อันดับที่ 28  

คนเกาหลี : มุมมองจากคนภายใน (Koreans: “Emic” View on Korean Stereotype). เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา

    มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.
อันดับที่ 29   สาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีกับความมั่นคงแห่งชาติของประเทศไทย. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.
อันดับที่ 30   ไทย-เกาหลีใต้-อาเซียนบวกสาม. เอกสารทางวิชาการ ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.
     
     

Center for Korean Studies

     The Center was inaugurated, under the decision of the University Council, on January 5, 1995 as an internal organization with in the Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities of Ramkhamhaeng University. The prime objective of this Center is to create interests and to seek understanding, as well as to build up a body of knowledge of Korea in Thailand.

The Center focuses on its activities as follow:

1. To be a Center providing assistance on Korean Studies in all areas, i.e. socio-cultural features, economy, politics, geography, history, and current situations of the peninsular;

2. To be a Center assist teaching materials in the area of study for faculty, and to provide knowledge of Korea as well as of Japan, China and Mongolia to the general public;

3. To be a campus of knowledge on Korean Studies and also to
build up an academic strength in this field through research and publication;

4. To be a Center for coordinating academic exchanges in Korean studies with internal and international institutions.

Corresponding address

Director, Center for Korean Studies
Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities
Ramkhamhaeng University, Bangkok 10240, Thailand.
Tel: (66-2) 318-0054-5, 02-318-0888 ext. 1117 Fax: (66-2) 318-8270

e-mail address: damrongthandee@ru.ac.th

website: www.ru.ac.th/korea

Teaching

     Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities of Ramkhamhaeng Univeristy
has regularly offerred a course on the Korean Society and Culture ( as well as two classes on the
Japanese Society and Culture and the Chinese Society and Culture) while Department of History on
the History of Modern Korea.Faculty of Political Science has a course on the Politics of Korea whereas
Faculty of Economics on the Economies of East Asian Countries.

    Department of Thai and Oriental Languages, Faculty of Humanities, regularly offers courses on
Korean Language as KO 101, KO 102, KO 201 and KO 202

    Institute of Language, Ramkhamhaeng University also offers Korean language teaching on 3 levels
to the public on weekends throughout the year.

 

Copyright 2002 © Center for Korean Studies Ramkhamhaeng University